วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

โครงการเยาวชนนักเรียนแลกเปลี่ยน AFS, ทุกเรื่องราวเกี่ยวกับAFS

สวัสดีครับเพื่อนๆทุกคน

ก่อนอื่น ขอแนะนำตัวเอง เราชื่อแทนครับ เป็น เยาวชน นักเรียนแลกเปลี่ยน AFS รุ่นที่ 45 ไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกาปี 2006 ซึ่งเดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกามาเมื่อหลายปีที่แล้ว(นับเอาเอง) กลับมาแล้วข้ามชั้นไปอยู่ ม.6 ขณะนี้กำลังศึกษาอยู่ชั้นปี 3 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครับ เราก็อยากจะมาเล่าประสบการณ์ และ แนะนำสิ่งที่มีประโยชน์กับเพื่อนๆเกี่ยวกับการสอบเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน AFS ครับ อันที่จริงเคยโพสต์บทความนี้ไว้ใน Mugglethai แต่รู้สึกว่าอยากเผยแพร่ต่อเผื่อจะมีประโยชน์แก่น้องๆ ผมว่า มันจะทำให้เพื่อนๆ ได้ประโยชน์อะไรอีกมากมายเลย ใครที่มีคุณสมบัติ หรือ ช่วงอายุถึงตามที่ประกาศบอก ลองไปสมัครเลยครับ เพราะหากคุณติดขึ้นมา มันจะเป็นโอกาสที่เปลี่ยนชีวิตคุณไปจริงๆ ลองดูนะ

อยากให้เพื่อนๆที่ได้อ่านบทความจาก blog นี้ ได้มาเป็นเยาวชนนักเรียนแลกเปลี่ยน AFS และได้เรียนรู้ชีวิตที่แปลกใหม่ได้ประสบการณ์ดีๆครับ และตอนนี้บทความนี้ก็ได้ถูกปรับปรุงเพิ่มเติมข้อมูลใหม่ๆให้เด็ก AFS ได้อ่านทั้งก่อนไป และหลังจากกลับมา ตอนนี้ข้อมูลในนี้รองรับทุกเรื่องราวแล้วก็สามารถเลือกอ่านได้เลยนะครับ

แต่ใครที่ยังไม่รู้ว่ามันคืออะไร เราจะอธิบายให้ฟังนะครับ

เราก็จะเล่า ตั้งแต่การสอบ ไปจนถึงการเตรียมตัวก่อนไป และการจัดการตัวเองหลังจากกลับมาเลยนะครับ หากใครที่ลองสอบตามคำแนะนำของเรา แล้วติด ก็ดีใจด้วย^^ ยังไง เราขอแนะนำเลยว่า ลองไปสอบ ไม่เห็นเสียหายอะไรเลย

Q : AFS คืออะไร?
A : AFS หรือ American Field Service เป็นโครงการ แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของเยาวชนครับ เริ่มต้นโดยประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งช่วงแรก จะเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมโดยที่ อเมริกาเป็นจุดศูนย์กลาง แต่ปัจจุบัน เครือข่ายเริ่มกว้างขึ้น ทำให้เรามีตัวเลือกมากขึ้นว่าจะไปประเทศไหน และ AFS ก็ขึ้นชื่อว่า เป็นองค์กรสำหรับโครงการแลกเปลี่ยนที่อยู่อันดับต้นๆของโลก

สำหรับประเทศไทยนั้น หรือ AFS Thailand มีเครือข่าย ทั่วประเทศ เช่นกัน

และ AFS ไม่ใช่โครงการแบบ Summer Camp ที่จะผสมการเรียนภาษาบ้าง ไปเที่ยวบ้าง สบายๆ แต่! AFS จะตรงกันข้ามเลย เพราะ ลักษณะของโครงการนี้ คือจับเราเข้าไปอยู่ในชุมชนประเทศนั้นๆ ให้เราอยู่คนเดียว แล้วพยายามปรับตัว ให้เข้ากับวัฒนธรรมของประเทศนั้น และศึกษาสังคม ทำความเข้าใจกับคนในสังคมนั้นๆ และ เผยแพร่วัฒนธรรมของเราให้พวกเขา เป็นการทำความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม โดยเรามีเวลาที่จะใช้ชีวิตในประเทศนั้น 11 เดือนด้วยกัน เป็นเวลาที่เราต้องอยู่กับตัวเอง และเรียนรู้

โดยที่เรา ต้องจากประเทศไทย ไปเป็นระยะเวลา 11 เดือน เพื่อไปอยู่กับครอบครัว อุปถัมภ์ หรือ Host Family ที่จะคอยดูแล ให้ความอบอุ่นแก่เรา และเราก็จะต้องเข้าเรียนในโรงเรียนของประเทศนั้นด้วย

บางคนอาจมองว่า เสียเวลาในการเรียน ต้องมาซ้ำชั้น เก็บคะแนน เพื่อนๆเราก็อยู่ชั้นที่เหนือกว้ารา ต้องมานั่งเรียนกับรุ่นน้อง แต่หากมองกลับกันคือ เราได้เวลามา 1 ปีเต็มๆ เป็นเวลาที่ ไม่ใช่ว่าจะเอามาง่ายๆหรอกนะ ไปใช้ชีวิตในต่างประเทศ เกือบปี เราจะเป็นคนที่มองโลกกว้างขึ้น สามารถเข้าใจวัฒนธรรมของชาวต่างชาติได้ดีขึ้น และเรายังได้ปรับตัวเข้ากับสังคมนั้นๆ ด้วยความสามารถของเราเอง ซึ่ง หากคุณประสบความสำเร็จในการปรับตัว หลายๆคนที่ไป บอกเหมือนกันว่า คุณจะมีความสุขมากๆ หากคุณปรับตัวเข้ากับเขาได้ แล้วตลอด 11 เดือนนั้น ก็จะเป็นช่วงเวลาของคุณ และนำสิ่งที่ได้ กลับมาให้มากที่สุด

ใครที่กลับมาจาก AFS มักประสบความสำเร็จกันทั้งนั้น เพราะ เราจะได้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม และที่สำคัญคือ ได้อยู่ร่วมกับคนต่างชาติ ต่างเผ่าพันธุ์ ต่างถิ่น ทำให้เราได้เรียนรู้ตนเอง

และตอนนี้ AFS ก็มีทุนเสริมที่บางคนคงได้ยินแล้วก็คือ ทุน
YES

Q: แล้วทุน YES มันแตกต่างยังไงกับ AFS ล่ะ?
A: ต่างอย่างมาก YES ย่อมาจาก Youth Exchange and Study เป็นอีกหนึ่งโครงการแลกเปลี่ยนที่ได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาเต็มจำนวนจากกระทรวงก
ารต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะมอบให้กับเยาวชน "มุสลิม" ในประเทศต่างๆ ซุ่งโครงการ YES ก็มาร่วมกับ AFS ซึ่งเด็กทุน YES รุ่นแรกได้เดินทางไปพร้อมกับเด็ก AFS รุ่น 45

ง่ายๆคือทุน YES...

- จะได้รับค่าใช้จ่ายการกินอยู่ทั้งหมดจากรัฐบาลอเมริกัน
- ต้องไปที่ประเทศอเมริกาที่เดียว
- ต้องเป็นมุสลิม
- ขึ้นชื่อว่า YES แต่เราก็คือ AFS


Q : ขอรายละเอียดการสมัคร AFS หน่อยจ้า

A : อะ จัดให้(รู้สึกเหมือนเป็นคนบ้าเลย 55)


คุณสมบัติผู้สมัคร (update สำหรับปี 2008)

ผู้สมัครสอบข้อเขียนต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้นครบถ้วนทั้ง 6 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. สัญชาติไทย
2. ต้องเกิดระหว่าง 30 มิถุนายน 2536 ถึง 31 ธันวาคม 2538
3. กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 -4 –5 หรือเทียบเท่า และต้องกำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาในประเทศไทย
ที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ ทั้งขณะสมัครและขณะอยู่ในโครงการ
4. ต้องเป็นผู้ที่ไม่เคยเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนไปต่างประเทศที่มีระยะเวลามากกว่า 6 เดือน
5. เป็นผู้มีความประพฤติดี
6. ต้องเป็นผู้ที่มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวทั้งทางร่างกายและจิตใจ ไม่เป็นโรคติดต่อหรือเป็น
พาหะของโรคใดๆที่จะเป็นอุปสรรคในการเข้าร่วมโครงการ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบ ไทรอยด์ เบาหวาน เป็นต้น
รวมทั้งเป็นผู้มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของประเทศอุปถัมภ์ ในกรณีที่มีข้อโต้แย้ง
ต้องได้รับการพิจารณาตัดสินเด็ดขาดโดยแพทย์ที่มูลนิธิมอบหมาย
7. มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมสุดท้าย (GPA)ไม่ต่ำกว่า 2.30


*หลักฐานการสมัคร

ใบสมัครสีฟ้า ติดรุปถ่ายและกรอกข้อความสมบูรณ์ พร้อมลายเซ็นผู้สมัครและผู้ปกครอง
รุปถ่ายหน้าตรง ขนาด 1 นิ้ว ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน 3 รุป
ค่าสมัครสอบ 200 บาท

*ยื่นใบสมัครที่ศูนย์ AFS ใกล้บ้านท่าน




Q : และต้องทำอะไรบ้าง
A : ก่อนที่คุณจะเข้ามาอยู่ในครอบครัว AFS นั้น คุณจะต้องผ่านด่าน 2 ด่านก่อน คือ การสอบข้อเขียน และ การสอบสัมภาษณ์ ตามที่บอกไว้แล้วว่า AFS Thailand มีเครือข่ายทั่วประเทศ สนามสอบ ก็ มีทั่วประเทศ ดังนั้นไม่ต้องห่วงว่า เพื่อนๆที่อยู่ไกล ไม่ได้อยู่กรุงเทพ จะไม่มีโอกาส กลับกันเลย ทุกคน ทั่วประเทศ ล้วนมีโอกาสหมดครับ ติดต่ออาจารย์แนะแนวในโรงเรียน เพื่อหาใบสมัคร


ด่านแรก : สอบ ข้อเขียน

การเตรียมตัว
:: เมื่อเพื่อนๆได้รับใบสมัครมาจากอาจารย์แล้ว ก็กรอกไปให้หมดเลย ติดรูป แล้วไปส่งที่สำนักงาน AFS ใกล้บ้านท่าน หรือ กับอาจารย์ จะเสียค่าธรรมเนียมสอบ 200 บาท แล้วเราจะได้เอกสารมาดังนี้

- บัตรผู้เข้าสอบ เก็บไว้ดีๆ ห้ามทำหาย
- ตัวอย่างข้อสอบของรุ่นก่อนๆ

สิ่งที่เพื่อนๆ น่าจะเตรียมตัวในการ ทำข้อสอบข้อเขียนนั้น คือ

- เตรียมปรับตัวให้เข้ากับสนามสอบ เพราะสถานที่สอบ คือ โรงเรียน แต่โรงเรียนนั้น อาจจะไม่ใช่โรงเรียนของคุณ แต่เป็นโรงเรียนซักแห่ง ที่คุณ ไม่คุ้นเคย อย่างผม ผมเรียนสาธิตเกษตร แต่สอบที่ สารวิทยา ไม่เคยเข้าไปในโรงเรียนนั้นมาก่อนในชีวิตนี้-*- ดังนั้นขอให้ แค่เดินเข้าไปในห้องสอบ หาเพื่อนที่เรารู้จัก ชวนๆไปสอบด้วยกัน ยังไงก็ยึดติดด้วยกันไว้ เพราะเราอยู่ในสถานที่ไม่คุ้นเคย เมื่อเข้าห้องสอบ ก็กักตัวเอง อยู่ในโลกของเรา อย่าไปสนใจสิ่งภายนอก แค่สนใจกับข้อสอบ แล้วค่อยๆนึก

- ข้อสอบที่บอกว่า เป็นข้อเขียน อันที่จริงแล้ว ก็เป็น ตัวเลือกน่ะแหละครับ ไม่มีเขียนเรียงความยืดยาวอะไรแบบนั้น ข้อสอบ จะแบ่งเป็น 2 อย่างคือ กระดาษข้อสอบ ที่จะทำเป็นเล่ม และกระดาษคำตอบ ซึ่งใช้วิธี ฝนด้วยดินสอ 2B หรือเข้มกว่านั้น ข้อสอบมีประมาณ 100 ข้อครับ

- ตอนสมัคร เราจะได้ตัวอย่างข้อสอบของรุ่นก่อนๆ พร้อมเฉลย อย่างน้อย เราน่าจะลองทำดู แล้วเช็คคำตอบ แล้วรวมคะแนน ลองจำแนวๆข้อสอบมาเสีย





แนวข้อสอบ

ข้อสอบข้อเขียนนั้น เราจะสอบ พร้อมกันทั่วประเทศ เป็นช่วงเช้า เวลาประมาณ 9.00-12.00 ถ้าเราจำไม่ผิด คุณมีเวลาสอบ เยอะพอสมควร และข้อสอบ จะแบ่งเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ

1. ชุดภาษาไทย
2. ชุดภาษาอังกฤษ


ชุดภาษาไทย จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับ ข่าวสาร บ้านเมือง ข่าวเด่นๆดังๆของโลก ข่าวในประเทศ ถามเกี่ยวกับความรู้รอบตัว และจะมีสำนวนไทยเล็กน้อย รวมไปถึง ถามความเห็นของเรา เกี่ยวกับข่าวสาร และยังมีการยกสถานการณ์มา แล้วถามว่า เราจะทำอย่างไร กับสถานการณ์นั้น?

ชุดภาษาอังกฤษ จะมี

Reading(การอ่าน) / ที่เราเจอคือ เขาจะยกข้อความยาวๆบ้าง สั้นบ้าง หรืออาจจะเป็นป้ายโฆษณา แม้แต่ เมนูอาหาร เขาจะยกมา แล้วถามเรา ดังนั้น อ่านดีๆ อ่านทวนหลายๆรอบ บางครั้ง คุณอาจจะอ่านข้ามสิ่งสำคัญไป หรือ อาจจะยังตีความข้อความนั้น ไม่เคลียร์ ยังไม่เข้าใจ แต่อย่าปล่อยมันไป อย่านึกว่า แค่จุดเล็กๆ ข้ามไปก็ได้ ยังไงก็ ลองอ่านทวนๆ แล้วลองหาความเป็นไปได้ ลองค่อยๆคิดว่า มันจะแปลว่าอะไร อย่าเพิ่งด่วนข้าม โดยสิ่งที่เขาถาม จะถามตามเนื้อเรื่องเป็นส่วนใหญ่ อาจจะต้องคิดบ้าง และบางคำถาม จะเป็นแบบ นอกเรื่อง หรือ ถามต่อไป โดยคำตอบ ไม่ได้อยู่ในข้อความนั้น แต่เราต้องคิดต่อ

หรือบางข้อ จะเป็นข้อความที่ยกมา แล้วถาม Main Idea หรือความคิดรวบยอด คอนเซปหลัก ว่าคืออะไร อย่างเช่น ถ้าเราจะอธิบายยืดยาวเกี่ยวกับเบอร์ตี้บอตต์ กบช็อกโกแลต เขาถาม Mai Idea เรา เราก็น่าจะตอบว่า ขนมของพ่อมด แม่มด เป็นการถามคอนเซปหลักน่ะครับ

หรือ อาจจะมีข้อความยาวๆ แล้วเว้นช่วง ให้เราเติม อันนี้ ลองอ่านทวนๆหลายๆรอบ แล้วคิดดีๆว่า มันควรเป็นประโยคไหน เพราะยังไง เขาก็มี ตัวเลือกให้แล้ว

Expression(สำนวน) / Dialog(บทพูด) - ขอรวม 2 อย่างเข้าด้วยกัน ในโจทย์แบบนี้ จะมีรูปแบบของ บทพูดคนนี้ๆๆๆๆๆ คุยกัน โดยอาจจะมีช่องโหว่ ให้เราเติม ว่าควรจะพูดอะไร ทั้งนี้ จะมีเรื่องของ สำนวนเข้ามาเกี่ยวข้อง
เพราะบางประโยค อาจจะเป็นอุทาน อาจจะเป็นการปฏิเสธ อาจจะเป็นคำถาม หรือไม่ก็ตอบโดดๆ หรืออาจจะเป็นประโยคที่แสดงความลังเล ไม่แน่ใจ เราก็หามาเติม โดยที่เขามีตัวเลือกให้แล้ว อันนี้ เราต้องอ่านตั้งแต่ต้นจนจบก่อน จะดีมาก แล้วค่อยๆ คิดไปทีละเปลาะ ว่าช่องไหน ควรเติมอันไหน

และอาจจะถามความรู้รอบตัวอีกเช่นกัน เป็นภาษาอังกฤษ หรือบางคำถาม อาจจะถามอะไรที่เป็นเรื่องทั่วไปว่า ถ้าหาก เกิด...ขึ้นเราจะ......? ประมาณนั้นน่ะครับ

Q : แล้วถ้าเจอศัพท์งงล่ะ?
A : อันนี้ ใครๆก็เจอกันหมด ทั้งข้อสอบ โรงเรียน ข้อสอบแข่งขัน ของ AFS ก็ย่อมมีคำศัพท์ภาอังกฤษที่ชวนงง หากเจอเรื่องแบบนี้(มันก็เจอกันทุกคนแหละ-*-) ก็คิดดีๆ ลองอ่านประโยคก่อนหน้านี้ และประโยคที่อยู่หลังคำศัพท์นั้น หาความเป็นไปได้ เท่าที่เราคิดออก แล้วสร้างเรื่องขึ้นมา ลองใช้ความเป็นเหตุเป็นผลดูว่า คำที่เราไม่รู้จักนี้ มันแปลว่าอะไร คำถามบางข้อ อาจจะถามคำศัพท์ แต่เราก็ไม่ถึงกับต้องมานั่งท่องก่อนเข้าสอบ มันช่วยอะไรไม่ได้หรอกนะ เพราะนี่ไม่ใช่การสอบรายหน่วย มีคอนเซปให้ แต่ AFS เขาจะถามอะไรเราก็ได้ ถามความรู้ต่างๆที่เราน่าจะรู้ หรือถามอะไรที่เราไม่รู้ และต้องมาคิดเอาตรงนั้น

ดังนั้น สำหรับการสอบข้อเขียน ขอให้รู้คอนเซป ทำข้อสอบตัวอย่าง ทำใจว่างๆ แค่นั้นก็คงพอแล้ว ในเวลาทำข้อสอบ ไม่มีใครมากวนคุณ คนในห้องสอบนั้น อาจจะมีเพื่อนคุณ ซึ่งทำให้โล่งใจได้ว่า เออ เรามีเพื่อนนะ แต่บางที เราอาจจะอยู่ในห้องสอบที่มีใครก็ไม่รู้ มาจากต่างถิ่น อย่าปล่อยให้เรื่องนั้นมารังควานคุณ ยังไง ก็ทำๆให้เสร็จ แต่อย่าทำลวกๆ

และที่เราอยากแนะคือ ทำส่วน ภาษาอังกฤษก่อน ก็จะดีนะ เพราะเราก็ทำแบบนั้น^^’ ที่ทำอังกฤษก่อน เพราะ มันต้องคิดเยอะกว่าอยู่แล้ว และนึกดู หากทำภาษาไทย ซึ่งมันก็ปวดหัวไม่แพ้กันล่ะ แล้วมาเจอภาษาอังกฤษ ซึ่งมันน่าปวดหัวกว่านั้นอีก มันอาจจะทำให้เราคิดไม่ออก ดังนั้น พลังยามเช้านี่แหละ หัวเรายังโปร่งๆ ก็ทำส่วนที่เราว่ายากกว่าก่อน หรือบางคนอาจเก่งอังกฤษ สบายปร๋อ ก็แล้วแต่จะทำอะไรก่อน ขอแค่ ให้เรายังทีแรงทำสม่ำเสมอไปจนจบ ไม่ใช่ว่ายิ่งทำไป ชั้น ไม่ไหวแล้ว ><” อ่อ อันนี้ เกร็ดเล็กน้อย มีคำถามที่แปลกที่สุดที่เราเคยเจอมาในข้อสอบนั้น คือ เขาให้เราคิดเปอร์เซ็นต์ เป็นภาษาอังกฤษ-*- จนถึงตอนนี้ ยังไม่หายสงสัยเลยว่าเราตอบถูกมั้ย-*- คำแนะนำล่วงหน้าก่อนสอบก็คือ ถ้าคนไหนได้คะแนนวิชาภาษาอังกฤษดีอยู่แล้วก็ไม่ต้องห่วงมากครับ ตั้งใจทำข้อสอบ ใช้ความรู้ที่มี แล้วถ้าฝึกด้านการอ่านไว้ด้วยก็จะยิ่งดี ลองอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ เรื่องสั้นๆก็ดีครับ เราควรใส่ใจกับการพัฒนาภาษาอังกฤษมากกว่าเพราะข้อสอบในส่วนภาษาไทยก็ไม่ได้ลงลึกในด้ านหลักภาษาเท่าไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเลย ยิ่งถ้าใครเคยสอบข้อสอบจำพวก TOEFL / SAT ก็วางใจได้ครับ
------------------------------------------------------




ปล. และตอนนี้ วันรับสมัคร ก็ใกล้เข้ามาเรื่อยๆแล้วนะครับ ตอนแรกคิดว่า จะเก็บไว้โพสตอน บอร์ดใหม่ แต่คิดอีกที โพสตั้งแต่ตอนนี้เลย อยากให้เพื่อนๆได้รู้กันครับ

และหากใครมีอะไรสงสัย ต้องการให้เราช่วยเหลือเรื่อง AFS นี้ เรายินดีช่วยเต็มที่ครับ add ได้เลย

*รบกวนน้องจะถามเรื่อง AFS แนะนำตัวและบอกด้วยน้าว่าจะถามเรื่อง AFS บางทีถามมาหลายคนพี่จำไม่ได้
หรือถ้าไม่ได้ตอบต้องขอโทษด้วยนะครับ บางทีออนแต่ไม่ได้อยู่ตรงนั้นครับ

tanba_jing@hotmail.com พร้อมยินดีช่วยเพื่อนๆเสมอครับ smile.gif



>>>>>>>>>>>>>>> ติดตามต่อ ภาค 2


4 ความคิดเห็น:

  1. ^^ คือถ้าหนูยุมอสาม เเลวภาษาอังกฤษก็อ่อนมากเลยหละ แล้วขอสอบพวกศัพท์ต่างๆๆที่มีอยู่ในข้อสอบอะคะ มันจะประมาณของมอไหนได้บ้างอะคะ

    ตอบลบ
  2. คือได้ยินมาว่าโครงการนี้ข้อสอบยากมากกกเลยค่ะแล้วหนูก็อยากไปมากด้วยแต่ไม่ค่อยเก่งภาษาอ่ะค่ะ แล้วตอนนี้หนูอยู่ม.2ค่ะ อยากถามว่าหนูพอจะมีโอกาสเตรียมตัวมั้ยคะ

    ตอบลบ
  3. คือหนูอยากรู้เรื่องค่าใช้จ่าย ค่ะ หนูไม่ได้ลงสมัครทุขขาดแคลนแต่เป็นนักรียนทั่วไป ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากน้อยแค่ไหนค่ะ

    ตอบลบ
  4. Best online slots: free slots, casino and sportsbooks
    In fact, in 양주 출장마사지 2021, there 사천 출장마사지 are 포항 출장샵 over 200 free slots in every 동두천 출장안마 casino online. You can get 용인 출장샵 an introduction to how to play,

    ตอบลบ